วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โทรฟรีกับ Google



      Google เริ่มจะมาคุมตลาดการสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต (VoIP) อีกแล้วครับท่าน ข่าวล่าสุด Google ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง BEC NEWS ว่า ตอนนี้สามารถให้ผู้ที่ใช้ Email ของ google (Gmail) สามารถโทรศัพท์ผ่าน Gmail ได้แล้วครับ ซึ่ง Google ได้เปิดให้โทรฟรีได้ทุกที่ สำหรับ ประเทศอเมริกา และแคนาดา ถึงสิ้นเดือนนี้ สำหรับประเทศอังกฤษ, ฝรั่งเศส, จีน  และเยอรมัน จะคิดนาทีละ 2 cent (ประมาณ 60 สตางค์) ใครที่อาศัยอยู่ประเทศเหล่านี้ลองเข้าไป web>> https://www.google.com/voice ส่วนประเทศไทยเราไม่รู้จะเปิดให้บริการเมื่อไรเหมือนกันครับ แต่ก็ลองเข้าไปเล่น Google Talk ก่อนก็ได้นะครับ เหมือนกับ Skype ที่สามารถคุยกับผ่าน Webcam ได้ แต่ Google Talk มีข้อดีกว่าตรงที่ไม่ต้องลง Program แต่สามารถใช้ Gmail คุยได้เลยครับ ลองเข้าไปดูที่  http://www.google.com/talk/  งานนี้ Skype เจองานหนักแน่เลยครับ


วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

3G คืออะไร? (ตอนที่1) จาก ME Newsletter

         หลายท่านคงได้ยินกันบ่อยๆ เดี๋ยวนี้ต้องใช้ 3G แล้วไอ้ 3G คืออะไรกันแน่ วันนี้ผมได้รับ E-mail จาก ME Newsletter ซึ่งเป็น Web สำหรับระบบประเมินคุณภาพสื่อสนันสนุนโดย CAT internet ของไทยเรา เค้าเขียนอธิบายเกี่ยวกับ 3G ได้ดีมากจึงขออนุญาติ Copy มา Post เลยนะครับ หวังว่าคงไม่ละเมินลิขสิทธิ์ นะครับ เพราะช่วยเอาความรู้มาเผยแผ่ ^_^


         คำว่า G ก็คือ Generation หรือ “ยุค” นั่นเอง ดังนั้น 3G ก็คือ “ยุคที่ 3” ของระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ไร้สาย แต่ที่มันจะทำให้งง ก็ตรงที่ว่าตัวเลขของยุคต่าง ๆ ที่ว่านี้มันมีซอยออกมาเป็นจุดทศนิยมด้วย แบบ ยุคที่ 2.5 เอย 2.75 เอย ซึ่งมันก็คือการเพิ่มเติมเทคโนโลยีเล็ก ๆ น้อย ๆ กันเข้าไป ให้นึกถึงรถยนต์ ที่ผลิตออกมาแล้วก็มีการทำ Minor Change แบบว่า เปลี่ยนไฟหน้า ดัดกันชน เพิ่มสีแปลก เปลี่ยนหลอดไฟ ติดปุ่มที่พวงมาลัย ฯลฯ แล้วก็เอามาโปรโมทขายกันใหม่ ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนรุ่นครั้งยิ่งใหญ่ คือ Model Change อีกครั้งหนึ่ง... อะไรทำนองนั้นเลย แต่ก่อนอื่น เพื่อความเข้าใจใน ยุค 3G ก็จะขอพูดถึงช่วง ยุค 2.0 - 2.75 ก่อนแล้วกัน เพราะเป็นยุคที่ประเทศไทยเราใช้อยู่ตอนนี้ ภาษารถยนต์คงประมาณ “Minor Change รุ่นสุดท้าย” อะไรแบบนี้
          ยุค 2G ก็คือยุคที่โทรศัพท์มือถือที่เปลี่ยนเป็นระบบ Digital คือ ก่อนหน้านี้ถ้าใครเกิดทันเมื่อ เกือบ 20 ปีที่แล้ว ประมาณยุคโทรศัพท์ รุ่นกระติกน้ำ ใหญ่มาก ๆ จะเป็นโทรศัพท์แบบยุคที่ 1 คือ ยังไม่ได้เป็นระบบดิจิตอล ตอนนั้น ใครโทรมาก็จะไม่เห็นเบอร์ ส่ง SMS ก็ไม่ได้ พูดง่าย ๆ เหมือนโทรศัพท์บ้านพื้น ๆ คือโทรศัพท์ได้อย่างเดียว ภาษาของคนขายเขาเรียก Voice Service คือบริการด้านเสียงอย่างเดียว และแล้ววันดี คืนดีผู้ให้บริการต่าง ๆ ก็มีการประกาศกันว่า "มันมาแล้วนะยุค Digital GSM ฯลฯ" หมดงบโปรโมทกันไปมากมาย ซึ่งก็คือจุดเริ่มก้าวเข้าสู่ยุค 2G ในบ้านเรา บริการที่เด่น ๆ ให้คนเห็นภาพ ก็คือการ “โทรโชว์เบอร์” คือเห็นเบอร์คนที่โทรเข้ามาหาเรา  และ การส่ง "SMS” ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริการที่ต้องใช้เวลาในการให้ความรู้ แต่ก็เป็นก้าวแรกที่ทำให้คนหันมาใช้โทรศัพท์ดิจิตอลยุค 2G กันอย่างล้นหลาม มีคนเล่าว่า ครั้งนึงมีใครเขาเอา SMS ไปเปรียบเทียบกับการส่ง โทรเลขด้วยนะ ซึ่งแปลกมากที่ตอนนั้นเขาว่ากันว่า คนส่งโทรเลขชนะ แต่สุดท้าย บริการโทรเลขของบ้านเรา ก็เพิ่งจะปิดตัวไปอย่างเป็นทางการ และถาวร เพราะค่าบำรุงรักษาระบบแพงมาก และแทบจะไม่มีใครไปใช้บริการเลย เพราะเขาส่งด้วย SMS กันหมดแล้ว


           ทั่วไปแล้วบริการของโทรศัพท์มือถือเขาจะแบ่งประเภทของบริการหลัก ๆ เป็น 2 แบบคือ แบบ 1.Voice คือ โทรคุยกันธรรมดานั้นแหละค่ะ กับ 2.Non-Voice คือ “บริการที่ไม่เกี่ยวกับเสียง” ตัวอย่างเช่น การโชว์เบอร์เรียกเข้า ก็ถือได้ว่าเป็นบริการแบบไม่ใช่เสียง เนื่องจาก เบอร์ที่ส่งไปให้ยังปลายทาง ถูกส่งไปในลักษณะของข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งก็เป็นวิธีการส่งคล้าย ๆ กับบริการ SMS ทั้งคู่เลยอยู่ในบริการกลุ่ม Non-Voice บริการ 1G ต่างกับ 2G ตรงนี้ และด้วยความนิยมใน Non-Voice สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งว่ากันว่าลำพังแค่บริการ SMS ก็สร้างรายได้ให้กับผู้ให้บริการทางโทรศัพท์อย่างมหาศาลแล้ว คงนึกภาพกันออกอย่างเช่น เรียลิตี้โชว์ด้ง ๆ เวลา Vote ผ่าน SMS กันแต่ละที อีกทั้งเวลาส่งข้อความวันปีใหม่ หรือ เทศกาลต่าง ๆ ผู้ให้บริการยิ่งชอบเลย

           ต่อมานักเทคโนโลยีก็ไอเดียบรรเจิด เมื่อมีการส่งข้อมูลเพียงแค่ SMS แล้วคนนิยมมาก ก็น่าจะเพิ่มการส่งข้อมูลอื่นได้ด้วยแบบเช่น ภาพ หรือ ไฟล์ต่าง ๆ จึงได้พัฒนาเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลออกมาเป็นมาตราฐาน GPRS - General Packet Radio Service ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด ไม่เกิน 114 Kbps ซึ่งจริง ๆ ส่วนใหญ่ก็ได้ไม่ถึง ที่ทำได้ ๆ กัน ก็แค่ 50 - 80 Kbps เท่านั้น ซึ่งก็คงแล้วแต่สภาพแวดล้อมทั้งหมด ดิน ฟ้า อากาศ และความหนาแน่นของช่องสัญญาณในขณะนั้นด้วย แต่นั้นก็เร็วมากพอที่จะส่ง ภาพ หรือ พวกไฟล์ต่าง ๆ ทางมือถือหรือ MMS กันได้แล้ว และประกอบกับยุคนั้น โทรศัพท์มือถือที่มีกล้อง ก็มาเปิดตลาดให้สอดคล้องกันพอดี และด้วยความเร็วระดับ GPRS ในยุค 2.5G ก็พอสำหรับที่จะทำให้ BB ขายกันเทน้ำเทท่า เพราะ BB Messenger บริการยอดนิยม ความเร็วระดับ GPRS ก็เหลือเฟือเพราะ เป็นการส่งตัวหนังสือเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งใช้ความเร็วไม่สูงนัก



         แต่สำหรับ "นักโหลดของ" เช่น โหลดเพลง ไม่ว่าจะแบบ เต็มเพลง เอมวี และ ริงโทน หรือ นักโหลดแอปพลิเคชั่น (application) หรือพวกโปรแกรมต่าง ๆ ใส่มือถือ  และการพุ่งทยานแข่งกันของ Smart Phone จอสัมผัสทั้งหลาย ประมาณ Iphone, Windows Mobile หรือ ระบบโทรศัพท์ใหม่ของ Google ชื่อ Android แถมมือถือสมัยใหม่จอใหญ่ ยังกะ Netbook ถ้ารับส่งข้อมูลยิ่งช้าก็ยิ่งแย่คะ อย่าง up รูปขึ้น Facebook รอนานก็ไม่ไหว ต้องเร็ว ๆ แบบเปิด เวป เร็ว โหลดไฟล์เร็วเท่า High Speed Internet ได้ยิ่งดี แต่ในเมื่อนโยบายเปิดบริการ 3G ยังไม่ลงตัว ผู้ให้บริการเขาเลยต้องพัฒนาต่อให้ถึงขีดสุดของ 2G เช่นระบบ EDGE - Enhanced Data Rates for GSM Evolution แปลง่าย ๆ ก็คือ "ในระบบเดิมนี้แหละ ทำให้มันดีกว่าเดิมเข้าไปอีก" ซึ่งก็ทำความเร็วใช้ได้เลยคือสูงสุดประมาณ 384 Kbps แต่จริง ๆ เข้าก็เฉลี่ยก็แค่ 100 กว่า K เท่านั้น ซึ่งเมื่อถึงยุคของ EDGE และอาจจะมีใหม่กว่านี้บ้าง ตอนนี้ก็เท่ากับเราอยู่ในยุคของ 2.75G แล้ว โค้งสุดท้ายแล้วของ 2G หรือ อย่างที่บอก ถ้าเป็นรถ ก็ คือประมาณ Minor Change รุ่นสุดท้าย เพราะการที่จะมีใครอาจหาญลงทุนพัฒนา 2G ต่อให้เร็วกว่านี้ เขาคงจะเลือกลงทุนกับระบบ 3G ที่เร็วกว่ามาก พราะ 3G ในระบบที่เรียกว่า HSDPA นั้นสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 14.4 Mbps หรือ 14 เมก นั้นเอง ซึ่งเราก็หวังว่าจะได้ความเร็วเพียง 2 เมก เราก็ยิ้มแล้วล่ะ ครั้งหน้า จะมาพูดถึงรายละเอียด ว่า 3G ทำอะไรได้บ้าง และเหนือกว่า 3G คืออะไร.....

Credit: http://www.me.in.th

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อุปกรณ์เปล่งแสงอินทรีย์ (OLED)

        อุปกรณ์เปล่งแสงอินทรีย์ (Organic Light Emitting Diode, OLED) เป็นไดโอดเปล่งแสง (LED) ชนิดหนึ่งที่มีชั้นฟิล์มของวัสดุสารอินทรีย์ โดยสามารถเปล่งแสงเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน

         OLED แบบทั่วไปจะประกอบด้วยชั้นของวัสดุสารอินทรีย์ที่สามารถเปล่งแสง (Emissive Layer) ที่อยู่ระหว่างขั้วบวก (Anode) และ ขั้วลบ (Cathode) ตัวอย่างวัสดุสารอินทรีย์ที่สามารถใช้เป็น Emissive Layer
เช่น Polyphenylenevinylene จะให้แสงสีเขียว, Polythiophene จะให้แสงสีแดง และ PolyFluorene จะให้แสงสีฟ้า ในการใช้งานเราจะจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าที่ขั้วบวก และลบ  กระแสไฟฟ้าที่ใช้อยู่ที่ประมาณ 2-10 โวลต์เมื่อมีกระแสไหลผ่าน อิเล็กตรอนก็จะไหลจากขั้วลบ ไปขั้วบวก ในทางควอนตัมเราสามารถอธิบายการไหล หรือการรวมกันอิเล็กตรอนจากระดับชั้นพลังงาน  รายละเอียดดูได้จาก Web อ.นอย >>http://nanotech.sc.mahidol.ac.th/e-plastic/oled.html โดยสังเขป ประจุบวกหรือโฮล (Hole) สามารถวิ่งอยู่บนชั้นพลังงานที่มีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่นี้ได้  ในขณะที่ประจุลบหรืออิเล็กตรอน สามารถวิ่งได้บนชั้นพลังงานที่ว่างเปล่านี้ ชั้นพลังงาน 2 ชนิดนี้มีลักษณะที่ไม่เชื่อมต่อกัน โดยชั้นพลังงานที่ว่างเปล่าจะอยู่สูงกว่าชั้นพลังงานที่มีอิเล็กตรอนบรรจุ อยู่ ชั้นพลังงานบนสุดที่มีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ จะถูกแยกออกจากชั้นพลังงานว่างเปล่าด้วยช่องว่างของพลังงาน (Energy Gap) ซึ่งมีขนาดที่พอเหมาะ เมื่อผ่านสนามไฟฟ้าเข้าไปที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสอง อิเล็กตรอนจากขั้วลบจะวิ่งไปที่ชั้นพลังงานที่ว่างเปล่า ในขณะที่โฮล จะวิ่งจากขั้วบวกเข้าไปยังชั้นพลังงานที่มีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ จากนั้นประจุลบจะวิ่งลงมาในขณะที่ประจุบวกจะวิ่งขึ้นไปพบกัน เมื่อมีการจับคู่กันก็จะเกิดการคายพลังงานส่วนเกินออกมาทำให้เกิดแสงนั่นเอง โดยสีที่เราเห็นจะขึ้นอยู่กับ Energy Gap ของวัสดุสารอินทรีย์ที่ใช้เป็น Emissive Layer
 
 วิธีการทำ OLED แบบง่ายๆ ดูได้จาก Web ของ University of Wisconsin at Madison, U.S.A. หรือ Click link>> http://mrsec.wisc.edu/Edetc/nanolab/oLED/index.html  เค้าอธิบายได้ละเอียดและดีมากๆครับ

         ตอนนี้ทางบริษัท Apple ก็จะใช้ OLED มาทำเป็น หน้าจอ iPad ซึ่งในปีหน้าเราอาจจะเห็น OLED มาโลดแล่นอยู่กับเจ้า iPad ครับ

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กล้วยที่มีจุดดำๆบนผิวมีคุณสมบัติต่อต้านมะเร็ง ??

           หลายคนอาจจะเคยเห็นรูปกล้วยด้านบนที่เผยแผ่ผ่านทาง Website ทั้งในและนอกประเทศหรือจากการ Forward Mail  แต่บางท่านอาจยังไม่เคยเห็น ผมขอเล่าคราวๆนะครับ รูปด้านบนจะมาพร้อมกับบทความที่ว่า "กล้วยที่มีจุดดำๆบนผิวมีคุณสมบัติต่อต้านมะเร็ง" โดยบทความดังกล่าว เค้าจะเล่าว่า "กล้วยที่สุกเต็มที่จะสร้างสารที่เรียกว่า TNF (Tumor Necrosis Factor) ซึ่งมีความสามารถที่จะไปต่อสู้กับเซลล์ที่ผิดปกติ ยิ่งกล้วยสุกมากเท่าไหร่ ก็จะเกิดจุดสีดำที่เปลือกมากขึ้น ยิ่งมีจุดดำนี้มากขึ้นเท่าไหร่  ก็จะยิ่งทำให้เกิดภูมิต้านทานมากขึ้น จากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น  กล้วยจะมี TNF ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านมะเร็ง ยิ่งกล้วยสุกมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็งได้มากขึ้น ใน การทดลองกับสัตว์โดยศาสตราจารย์ญี่ปุ่นผู้หนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ในการเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้จากผลไม้ต่างๆ โดยใช้ กล้วย องุ่น แอปเปิล  แตงโม สับปะรด  ลูกแพร์ ลูกพลับ  ปรากฏว่ากล้วยให้ผลดีที่สุด  มันช่วยทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น เพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย และสร้างสารต้านมะเร็ง TNF คำแนะนำคือให้กินกล้วยวันละ 1-2 ใบเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ  เช่น หวัด  ไข้หวัดใหญ่ และอื่นๆ ตาม คำแนะนำของศาสตราจารย์ญี่ปุ่น กล้วยทีมีผิวเหลืองและมีจุดดำๆหลายๆแห่งจะมีคุณสมบัติในการเพิ่มเม็ดเลือด ขาวได้มากกว่ากล้วยที่มีผิวเขียวถึง 8 เท่า"  
 

           พอผมได้อ่านบทความนี้ ผมจึงมีความสนใจอย่างมาก เพราะผมก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบรับประทานกล้วย ผมเลยพยายามค้นหา ข้อมูลจากฐานข้อมูลวิชาการต่างๆ แต่สรุปว่าหาเท่าไรก็หาไม่เจอครับ ศาสตราจารย์ญี่ปุ่นท่านไหนก็หาไม่เจอ มีแต่รูปกล้วยและข้อความลักษณะนี้จาก Web ทั่วไป โดยไม่มีการอ้างว่าแหล่งข้อมูลดังกล่าวมาจากที่ไหน ผู้ใดเป็นคนศึกษากันแน่ 
            จริงๆแล้วในวงการวิชาการทั่วไป ถ้าผู้ใดสามารถคิดค้น ประดิษฐ์ หรือเข้าใจเรื่องบางอย่าง อย่างถ่องแท้ เค้าก็จะนิยมมาตีพิมพ์ในบทความวิชาการครับ ที่คนไทยเราชอบพูดกันว่า Paper ซึ่งบทความวิชาการก็จะมีผู้ตรวจทานที่เรียกว่า Reviewer  และมี Editor เป็นผู้ตัดสินชะตาและจัดการกับ Paper ทุกอย่าง โดย Editor จะเป็นคนส่งงานวิจัยนั้นๆไปให้ Reviewer อ่าน ซึ่งส่วนมาก Reviewer ก็จะเป็นอาจารย์ นักวิจัย หรือ ศาสตร์จารย์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องนั้นๆ Editor จะเป็นผู้กำหนดว่าจะส่งให้ Reviewer คนใดอ่านบ้าง บางงานอาจส่งให้ Reviewer ถึง 5 คนเลยทีเดียว หลังจากที่ Reviewer อ่านงานนั้นเสร็จสิ้น Reviewer ก็จะส่ง ความคิด ทักษะคติ ที่เค้าได้อ่านงานนี้ว่าเค้ารู้สึกอย่างไร งานน่าสนใจไหม มีอะไรใหม่รึปล่าว ข้อมูลเชื่อถือได้มากขนาดไหน Editor จะรวบรวมความคิดเห็นของทุก Reviewer และตัดสินว่า Paper ดังกล่าวควรจะให้ ตีพิมพ์ เลยหรือไม่ หรือให้แก้ไขก่อนแล้วพิจารณาอีกครั้ง หรือปฏิเสธไปเลย คือเธอไม่ต้องส่งมาที่ฉันแล้วนะ งานเธอไม่น่าเชื่อถือเลย (ผู้ที่ทำงานด้านวิจัยคงเจอกันบ่อยนะครับสำหรับ Case นี้) วารสารที่ Paper จะตีพิมพ์ก็จะแบ่งได้อีกหลายระดับ บางคนก็จะแบ่งตามค่าที่เรียกว่า Impact Factor ถ้าวารสารใดมีค่า Impact Factor สูงก็ถือว่าวารสารนั้นน่าจะมีคุณภาพสูง มีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ แต่เชื่อไหมครับว่า Paper ที่ลงในวารสารที่มีค่า Impact Factor สูงอย่างเช่น Nature งานบางอย่างอาจมีข้อผิดพลาด เชื่อถือไม่ได้ ผู้แต่งบางคนยังรู้สึกผิด หลังได้รับตีพิมพ์ยังต้องออกมาลงแก้ไขกันใหม่ก็มีครับ



             ที่ผมเล่าให้ฟังเรื่อง การตีพิมพ์งานวิจัย ก็จะไปโยง กับเรื่องกล้วยๆ ด้านบนครับ อยากให้ผู้อ่านทุกคน ที่อ่านข้อมูลทาง Internet หรือ ได้รับจาก Forward Mail เมื่อเราอ่านแล้วอย่าเชื่อทุกอย่างในทันทีครับ เพราะไม่รู้ว่าจริงเท็จแค่ไหน อย่างเรื่องงานวิจัยกล้วยด้านบนเป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่มีการระบุ แหล่งที่มา และคนผู้ศึกษาอย่างชัดเจน ที่จริงงานวิจัยขนาดนี้ผู้วิจัยก็ต้องออกมาเสนอหน้ากันแล้วครับ เพราะถือว่ามีความสำคัญมาก อย่างไรก็ตามผมก็ไม่ขอสรุปว่า งานวิจัยข้างบนเป็นจริงหรือเท็จ มันอาจจะเป็นจริงก็เป็นไปได้ เพราะผมยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าจริงๆ แล้วมันเป็นอย่างไร เรื่องจริงแท้แน่นอน คือกล้วยเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและย่อยง่าย ผลกล้วยสด 100 กรัมมีแป้งประมาณ 2 กรัม น้ำตาล (รวมซูโครส กลูโคส และฟรักโทส) 20 กรัม วิตามินซี 11 มิลลิกรัม ส่วนกล้วยตาก 100 กรัมมีน้ำตาลถึง 50 กรัม และวิตามินซี 3 กรัม กล้วยสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และการอาการท้องเสียได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นกินกล้วยก็ย่อมมีประโยชน์แน่นอนครับ อย่างไรก็ตามถ้าใครทราบแหล่งข้อมูลที่แท้จริง เรื่องจุดด่างดำบนกล้วยก็บอกผมบ้างนะครับ อยากรู้เหมือนกัน ส่วนเรื่องต่างๆใน Website และ Forward Mail ก็กลั่นกรองกันดูว่าสุดท้ายแล้วเค้าแนะนำยังไง ถ้าเห็นแล้วไม่เข้าท่าก็อย่าไปทำตามนะครับ...

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เซนเซอร์ไร้สายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

        นักวิจัยได้พัฒนา หัวเซนเซอร์แบบผังในร่างกายมนุษย์ (Implantable sensor) และสามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ที่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

       
      ภาพด้านบนเป็นภาพรูปจำลองหัวเซนเซอร์ที่สามารถฝังในร่างกายมนุษย์ โดยที่ไม่มีอันตรายต่อระบบต่างๆในร่างกายมนุษย์ โดยหัวเซนเซอร์ด้านหนึ่งจะตรวจวัดออกซิเจน  อีกด้านหนึ่งจะตรวจวัดอันตรกิริยาของออกซิเจนและน้ำตาลกลูโคส (glucose) โดยข้อมูลจะถูกส่งผ่านยังภายนอกโดยระบบสัญญาณไร้สายที่ฝังรวมอยู่ภายในหัวเซนเซอร์ อุปกรณ์ดังกล่าวได้ถูกทดสอบกับหมูมากกว่า 1 ปีซึ่งไม่เกิดผลกระทบใดๆทั้งสิ้น ศาสตรจารย์ David Gough จากมหาวิทยาลัย San Diego กล่าวว่า "อุปกรณ์ตัวนี้สามารถทำงาน เก็บข้อมูล อย่างต่อเนื่องได้ถึง 1 ปีหรือมากกว่า ซึ่งภายในไม่กี่เดือนข้างหน้าอุปกรณ์ตัวนี้จะถูกฝังที่มนุษย์เพื่อทดสอบ โดยเราจะทดสอบมันอีกหลายปีเพื่อศึกษาผลกระทบ ถ้ามันยังทำงานได้อย่างดี อุปกรณ์นี้จะสามารถสั่งซื้อได้ภายใต้การควบคุมของแพทย์" 

  
เซนเซอร์นี้สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 (Type 1) และชนิดที่ 2 (Type 2)
 - โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลิน (ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ในตับอ่อน ทำให้ร่างกายหยุดการสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว (อย่างภาพด้านบน หญิงสาวกำลังฉีดอินซูลิน)
  - โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก การขาดการออกกำลังกาย และวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่ทำงานไม่เป็นปกติเนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด รายละเอียดโรคเบาหวานคลิกอ่านได้ที่ ThaiWiki

       เซนเซอร์จะใช้ในการปรับปริมาณอินซูลิน และเวลาในการฉีด ซึ่งมันจะช่วยลดความเสี่ยงการมีปริมาณอินซูลินที่มากเกินไป ถ้าปริมาณอินซูลินมีมากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)  (น้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 60 มก./ดล.) อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ อีกทั้งยังใช้เพื่อช่วยในการจัดตารางในการออกกำลังกาย และควบคุมการบริโภคอาหารเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่สภาวะปกติ  (ต่ำกว่า 200 มก./ดล.) ขนาดตัวเซนเซอร์ที่ฝังในหมูประมาณ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.8 ซม. ความหนาประมาณ 1.9 ซม. สามารถส่งข้อมูลไปยังภาครับได้ไกล 3.6 เมตร และยังสามารถส่งข้อมูลไปยังโทรศัพท์มือถือได้อีกด้วย 
          เพิ่มเติมครับ ประเทศไทยเราก็มีสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ ลองแวะเยี่ยมชมนะครับเพื่อเป็นประโยชน์ต่อท่านทั้งหลาย