วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

รถยนต์อัจฉริยะ (Intelligent Car)

หลายๆท่านที่ใช้เส้นทางจราจรโดยเฉพาะในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑล คงรู้สึกเหมือนๆกันนะครับ ว่า..."ทำไมรถติดจริงๆนะเนี๊ย" ไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้า...เที่ยง...เย็น....วันทำงาน หรือ วันหยุด.... หรือแม้หลายจังหวัดเองก็คงเจอปัญหาแบบนี้เช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็คงไม่น่าแปลกใจ หลายๆท่านก็เดากันได้ เพราะ จำนวนรถที่เพิ่มขึ้นทุกปีในขณะที่จำนวนเส้นทางมีจำกัด ลองดูสถิติกราฟด้านล่างแสดงจำนวนรถใหม่ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกกันครับ จะเห็นได้ชัดเจนว่าตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปี 2555 จำนวนรถใหม่จดทะเบียนมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี


จากข้อมูล ณ  วันที่  31 สิงหาคม 2556 จำนวนรถที่จดทะเบียนสะสมทั่วประเทศอยู่ที่ประมาณ 34 ล้านคันจดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯถึง 8 ล้านคัน เห็นข้อมูลแบบนี้แล้ว คงเดาไม่ยากเลยว่า ผู้ใช้บริการทางท้องถนนต้อง "ทำใจ" ครับ ผมเองขับรถเป็นประจำ เคยคิดเล่นๆว่าถ้ารถยนต์ที่เราขับอยู่เกิดขับเองได้ สามารถพาเรากลับบ้านได้อย่างปลอดภัย ก็คงจะดีไม่น้อย.... แต่แล้วความหวังเล็กๆของผมก็จะเป็นจริง เหมือนหลายๆค่ายรถได้พัฒนารถยนต์ให้มีระบบอัจฉริยะ ใช้เทคโนโลยีต่างๆที่มีเช่น ระบบกล้องความไวสูงรวมกับระบบ image processing ผสานกับเทคโนโลยีเรดาห์ และGPS และรวมกันสมการคณิตศาสตร์ชั้นยอด ก็สามารถทำให้รถยนต์เหล่านี้ สามารถขับเคลื่อนเองได้...

  

บริษัท Nissan หนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่นได้มีการพัฒนารถยนต์อัจฉริยะ ดังกล่าวขึ้นมา โดยคาดว่าจะสามารถนำออกขายได้ในปี พ.ศ. 2563 ลองมาดูการ Review ณ สถานที่ทดสอบรถจริงกับ คุณบัญชา ชุมชัยเวทย์ ในรายการจอโลกเศรษฐกิจย้อนหลัง ได้จาก link นี้ครับ>> http://goo.gl/GI5hm5

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

แถบสีเล็กๆ บนหลอดยาสีฟัน


หลายๆคนคงเคยเห็นภาพด้านบน (ที่ไม่มีรูปกากบาท) ปรากฏอยู่ในโลกออนไลน์กันนะครับ ซึ่งเค้าบอกว่า "ให้ลองสังเกตแถบสีเล็กๆตรงปลายของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น หลอดยาสีฟัน ถ้าเราเห็นว่ามันเป็นสีเขียว มันทำมาจากธรรมชาติ ถ้าสีดำทำมาจากสารเคมี เป็นต้น " ซึ่งในความจริงแล้ว การกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผิดสิ้นเชิง ครับ แถบสีที่ว่าเป็นเพียง ตัวระบุตำแหน่ง  (marker) สำหรับกระบวนการพิมพ์ (Printing process) เท่านั้น บางครั้งภาษาอังกฤษจะเรียกตัวนี้ว่า "Eye-Mark" หรือ "Eye spot" ซึ่งตัวแถบที่ว่านี้ จะสามารถทำให้ตัวเซนเซอร์ที่อยู่ในเครื่องพิมพ์ สามารถตัวจับตำแหน่งระบุพิกัดของสิ่งที่จะพิมพ์ได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้กระบวนการพิมพ์ถูกต้องมากขึ้น รู้ตำแหน่งการพิมพ์ด้านหน้า และด้านหลังได้แม่นยำ อีกทั้งยังสามารถช่วยในกระบวนการหยิบจับ ของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้ตรงตำแหน่งเดิมทุกครั้ง ถ้าลองไปสังเกตผลิตภัณฑ์ก็จะเห็นได้ว่า แถบสีเล็กๆซึ่งเป็นสีอะไรก็ได้ ไม่เฉพาะสีตามที่กล่าวอ้างครับ ยังไงอาจจะลองดูกระบวนการพิมพ์ที่มีเจ้า "Eye-Mark" จาก Clip ด้านล่างดูนะ ให้สังเกตแถบดำๆ เครื่องจะหนีบ ณ จุดตรงนั้นพอดี