วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

3G คืออะไร? (ตอนที่1) จาก ME Newsletter

         หลายท่านคงได้ยินกันบ่อยๆ เดี๋ยวนี้ต้องใช้ 3G แล้วไอ้ 3G คืออะไรกันแน่ วันนี้ผมได้รับ E-mail จาก ME Newsletter ซึ่งเป็น Web สำหรับระบบประเมินคุณภาพสื่อสนันสนุนโดย CAT internet ของไทยเรา เค้าเขียนอธิบายเกี่ยวกับ 3G ได้ดีมากจึงขออนุญาติ Copy มา Post เลยนะครับ หวังว่าคงไม่ละเมินลิขสิทธิ์ นะครับ เพราะช่วยเอาความรู้มาเผยแผ่ ^_^


         คำว่า G ก็คือ Generation หรือ “ยุค” นั่นเอง ดังนั้น 3G ก็คือ “ยุคที่ 3” ของระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ไร้สาย แต่ที่มันจะทำให้งง ก็ตรงที่ว่าตัวเลขของยุคต่าง ๆ ที่ว่านี้มันมีซอยออกมาเป็นจุดทศนิยมด้วย แบบ ยุคที่ 2.5 เอย 2.75 เอย ซึ่งมันก็คือการเพิ่มเติมเทคโนโลยีเล็ก ๆ น้อย ๆ กันเข้าไป ให้นึกถึงรถยนต์ ที่ผลิตออกมาแล้วก็มีการทำ Minor Change แบบว่า เปลี่ยนไฟหน้า ดัดกันชน เพิ่มสีแปลก เปลี่ยนหลอดไฟ ติดปุ่มที่พวงมาลัย ฯลฯ แล้วก็เอามาโปรโมทขายกันใหม่ ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนรุ่นครั้งยิ่งใหญ่ คือ Model Change อีกครั้งหนึ่ง... อะไรทำนองนั้นเลย แต่ก่อนอื่น เพื่อความเข้าใจใน ยุค 3G ก็จะขอพูดถึงช่วง ยุค 2.0 - 2.75 ก่อนแล้วกัน เพราะเป็นยุคที่ประเทศไทยเราใช้อยู่ตอนนี้ ภาษารถยนต์คงประมาณ “Minor Change รุ่นสุดท้าย” อะไรแบบนี้
          ยุค 2G ก็คือยุคที่โทรศัพท์มือถือที่เปลี่ยนเป็นระบบ Digital คือ ก่อนหน้านี้ถ้าใครเกิดทันเมื่อ เกือบ 20 ปีที่แล้ว ประมาณยุคโทรศัพท์ รุ่นกระติกน้ำ ใหญ่มาก ๆ จะเป็นโทรศัพท์แบบยุคที่ 1 คือ ยังไม่ได้เป็นระบบดิจิตอล ตอนนั้น ใครโทรมาก็จะไม่เห็นเบอร์ ส่ง SMS ก็ไม่ได้ พูดง่าย ๆ เหมือนโทรศัพท์บ้านพื้น ๆ คือโทรศัพท์ได้อย่างเดียว ภาษาของคนขายเขาเรียก Voice Service คือบริการด้านเสียงอย่างเดียว และแล้ววันดี คืนดีผู้ให้บริการต่าง ๆ ก็มีการประกาศกันว่า "มันมาแล้วนะยุค Digital GSM ฯลฯ" หมดงบโปรโมทกันไปมากมาย ซึ่งก็คือจุดเริ่มก้าวเข้าสู่ยุค 2G ในบ้านเรา บริการที่เด่น ๆ ให้คนเห็นภาพ ก็คือการ “โทรโชว์เบอร์” คือเห็นเบอร์คนที่โทรเข้ามาหาเรา  และ การส่ง "SMS” ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริการที่ต้องใช้เวลาในการให้ความรู้ แต่ก็เป็นก้าวแรกที่ทำให้คนหันมาใช้โทรศัพท์ดิจิตอลยุค 2G กันอย่างล้นหลาม มีคนเล่าว่า ครั้งนึงมีใครเขาเอา SMS ไปเปรียบเทียบกับการส่ง โทรเลขด้วยนะ ซึ่งแปลกมากที่ตอนนั้นเขาว่ากันว่า คนส่งโทรเลขชนะ แต่สุดท้าย บริการโทรเลขของบ้านเรา ก็เพิ่งจะปิดตัวไปอย่างเป็นทางการ และถาวร เพราะค่าบำรุงรักษาระบบแพงมาก และแทบจะไม่มีใครไปใช้บริการเลย เพราะเขาส่งด้วย SMS กันหมดแล้ว


           ทั่วไปแล้วบริการของโทรศัพท์มือถือเขาจะแบ่งประเภทของบริการหลัก ๆ เป็น 2 แบบคือ แบบ 1.Voice คือ โทรคุยกันธรรมดานั้นแหละค่ะ กับ 2.Non-Voice คือ “บริการที่ไม่เกี่ยวกับเสียง” ตัวอย่างเช่น การโชว์เบอร์เรียกเข้า ก็ถือได้ว่าเป็นบริการแบบไม่ใช่เสียง เนื่องจาก เบอร์ที่ส่งไปให้ยังปลายทาง ถูกส่งไปในลักษณะของข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งก็เป็นวิธีการส่งคล้าย ๆ กับบริการ SMS ทั้งคู่เลยอยู่ในบริการกลุ่ม Non-Voice บริการ 1G ต่างกับ 2G ตรงนี้ และด้วยความนิยมใน Non-Voice สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งว่ากันว่าลำพังแค่บริการ SMS ก็สร้างรายได้ให้กับผู้ให้บริการทางโทรศัพท์อย่างมหาศาลแล้ว คงนึกภาพกันออกอย่างเช่น เรียลิตี้โชว์ด้ง ๆ เวลา Vote ผ่าน SMS กันแต่ละที อีกทั้งเวลาส่งข้อความวันปีใหม่ หรือ เทศกาลต่าง ๆ ผู้ให้บริการยิ่งชอบเลย

           ต่อมานักเทคโนโลยีก็ไอเดียบรรเจิด เมื่อมีการส่งข้อมูลเพียงแค่ SMS แล้วคนนิยมมาก ก็น่าจะเพิ่มการส่งข้อมูลอื่นได้ด้วยแบบเช่น ภาพ หรือ ไฟล์ต่าง ๆ จึงได้พัฒนาเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลออกมาเป็นมาตราฐาน GPRS - General Packet Radio Service ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด ไม่เกิน 114 Kbps ซึ่งจริง ๆ ส่วนใหญ่ก็ได้ไม่ถึง ที่ทำได้ ๆ กัน ก็แค่ 50 - 80 Kbps เท่านั้น ซึ่งก็คงแล้วแต่สภาพแวดล้อมทั้งหมด ดิน ฟ้า อากาศ และความหนาแน่นของช่องสัญญาณในขณะนั้นด้วย แต่นั้นก็เร็วมากพอที่จะส่ง ภาพ หรือ พวกไฟล์ต่าง ๆ ทางมือถือหรือ MMS กันได้แล้ว และประกอบกับยุคนั้น โทรศัพท์มือถือที่มีกล้อง ก็มาเปิดตลาดให้สอดคล้องกันพอดี และด้วยความเร็วระดับ GPRS ในยุค 2.5G ก็พอสำหรับที่จะทำให้ BB ขายกันเทน้ำเทท่า เพราะ BB Messenger บริการยอดนิยม ความเร็วระดับ GPRS ก็เหลือเฟือเพราะ เป็นการส่งตัวหนังสือเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งใช้ความเร็วไม่สูงนัก



         แต่สำหรับ "นักโหลดของ" เช่น โหลดเพลง ไม่ว่าจะแบบ เต็มเพลง เอมวี และ ริงโทน หรือ นักโหลดแอปพลิเคชั่น (application) หรือพวกโปรแกรมต่าง ๆ ใส่มือถือ  และการพุ่งทยานแข่งกันของ Smart Phone จอสัมผัสทั้งหลาย ประมาณ Iphone, Windows Mobile หรือ ระบบโทรศัพท์ใหม่ของ Google ชื่อ Android แถมมือถือสมัยใหม่จอใหญ่ ยังกะ Netbook ถ้ารับส่งข้อมูลยิ่งช้าก็ยิ่งแย่คะ อย่าง up รูปขึ้น Facebook รอนานก็ไม่ไหว ต้องเร็ว ๆ แบบเปิด เวป เร็ว โหลดไฟล์เร็วเท่า High Speed Internet ได้ยิ่งดี แต่ในเมื่อนโยบายเปิดบริการ 3G ยังไม่ลงตัว ผู้ให้บริการเขาเลยต้องพัฒนาต่อให้ถึงขีดสุดของ 2G เช่นระบบ EDGE - Enhanced Data Rates for GSM Evolution แปลง่าย ๆ ก็คือ "ในระบบเดิมนี้แหละ ทำให้มันดีกว่าเดิมเข้าไปอีก" ซึ่งก็ทำความเร็วใช้ได้เลยคือสูงสุดประมาณ 384 Kbps แต่จริง ๆ เข้าก็เฉลี่ยก็แค่ 100 กว่า K เท่านั้น ซึ่งเมื่อถึงยุคของ EDGE และอาจจะมีใหม่กว่านี้บ้าง ตอนนี้ก็เท่ากับเราอยู่ในยุคของ 2.75G แล้ว โค้งสุดท้ายแล้วของ 2G หรือ อย่างที่บอก ถ้าเป็นรถ ก็ คือประมาณ Minor Change รุ่นสุดท้าย เพราะการที่จะมีใครอาจหาญลงทุนพัฒนา 2G ต่อให้เร็วกว่านี้ เขาคงจะเลือกลงทุนกับระบบ 3G ที่เร็วกว่ามาก พราะ 3G ในระบบที่เรียกว่า HSDPA นั้นสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 14.4 Mbps หรือ 14 เมก นั้นเอง ซึ่งเราก็หวังว่าจะได้ความเร็วเพียง 2 เมก เราก็ยิ้มแล้วล่ะ ครั้งหน้า จะมาพูดถึงรายละเอียด ว่า 3G ทำอะไรได้บ้าง และเหนือกว่า 3G คืออะไร.....

Credit: http://www.me.in.th

ไม่มีความคิดเห็น: