วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กล้วยที่มีจุดดำๆบนผิวมีคุณสมบัติต่อต้านมะเร็ง ??

           หลายคนอาจจะเคยเห็นรูปกล้วยด้านบนที่เผยแผ่ผ่านทาง Website ทั้งในและนอกประเทศหรือจากการ Forward Mail  แต่บางท่านอาจยังไม่เคยเห็น ผมขอเล่าคราวๆนะครับ รูปด้านบนจะมาพร้อมกับบทความที่ว่า "กล้วยที่มีจุดดำๆบนผิวมีคุณสมบัติต่อต้านมะเร็ง" โดยบทความดังกล่าว เค้าจะเล่าว่า "กล้วยที่สุกเต็มที่จะสร้างสารที่เรียกว่า TNF (Tumor Necrosis Factor) ซึ่งมีความสามารถที่จะไปต่อสู้กับเซลล์ที่ผิดปกติ ยิ่งกล้วยสุกมากเท่าไหร่ ก็จะเกิดจุดสีดำที่เปลือกมากขึ้น ยิ่งมีจุดดำนี้มากขึ้นเท่าไหร่  ก็จะยิ่งทำให้เกิดภูมิต้านทานมากขึ้น จากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น  กล้วยจะมี TNF ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านมะเร็ง ยิ่งกล้วยสุกมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็งได้มากขึ้น ใน การทดลองกับสัตว์โดยศาสตราจารย์ญี่ปุ่นผู้หนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ในการเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้จากผลไม้ต่างๆ โดยใช้ กล้วย องุ่น แอปเปิล  แตงโม สับปะรด  ลูกแพร์ ลูกพลับ  ปรากฏว่ากล้วยให้ผลดีที่สุด  มันช่วยทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น เพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย และสร้างสารต้านมะเร็ง TNF คำแนะนำคือให้กินกล้วยวันละ 1-2 ใบเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ  เช่น หวัด  ไข้หวัดใหญ่ และอื่นๆ ตาม คำแนะนำของศาสตราจารย์ญี่ปุ่น กล้วยทีมีผิวเหลืองและมีจุดดำๆหลายๆแห่งจะมีคุณสมบัติในการเพิ่มเม็ดเลือด ขาวได้มากกว่ากล้วยที่มีผิวเขียวถึง 8 เท่า"  
 

           พอผมได้อ่านบทความนี้ ผมจึงมีความสนใจอย่างมาก เพราะผมก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบรับประทานกล้วย ผมเลยพยายามค้นหา ข้อมูลจากฐานข้อมูลวิชาการต่างๆ แต่สรุปว่าหาเท่าไรก็หาไม่เจอครับ ศาสตราจารย์ญี่ปุ่นท่านไหนก็หาไม่เจอ มีแต่รูปกล้วยและข้อความลักษณะนี้จาก Web ทั่วไป โดยไม่มีการอ้างว่าแหล่งข้อมูลดังกล่าวมาจากที่ไหน ผู้ใดเป็นคนศึกษากันแน่ 
            จริงๆแล้วในวงการวิชาการทั่วไป ถ้าผู้ใดสามารถคิดค้น ประดิษฐ์ หรือเข้าใจเรื่องบางอย่าง อย่างถ่องแท้ เค้าก็จะนิยมมาตีพิมพ์ในบทความวิชาการครับ ที่คนไทยเราชอบพูดกันว่า Paper ซึ่งบทความวิชาการก็จะมีผู้ตรวจทานที่เรียกว่า Reviewer  และมี Editor เป็นผู้ตัดสินชะตาและจัดการกับ Paper ทุกอย่าง โดย Editor จะเป็นคนส่งงานวิจัยนั้นๆไปให้ Reviewer อ่าน ซึ่งส่วนมาก Reviewer ก็จะเป็นอาจารย์ นักวิจัย หรือ ศาสตร์จารย์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องนั้นๆ Editor จะเป็นผู้กำหนดว่าจะส่งให้ Reviewer คนใดอ่านบ้าง บางงานอาจส่งให้ Reviewer ถึง 5 คนเลยทีเดียว หลังจากที่ Reviewer อ่านงานนั้นเสร็จสิ้น Reviewer ก็จะส่ง ความคิด ทักษะคติ ที่เค้าได้อ่านงานนี้ว่าเค้ารู้สึกอย่างไร งานน่าสนใจไหม มีอะไรใหม่รึปล่าว ข้อมูลเชื่อถือได้มากขนาดไหน Editor จะรวบรวมความคิดเห็นของทุก Reviewer และตัดสินว่า Paper ดังกล่าวควรจะให้ ตีพิมพ์ เลยหรือไม่ หรือให้แก้ไขก่อนแล้วพิจารณาอีกครั้ง หรือปฏิเสธไปเลย คือเธอไม่ต้องส่งมาที่ฉันแล้วนะ งานเธอไม่น่าเชื่อถือเลย (ผู้ที่ทำงานด้านวิจัยคงเจอกันบ่อยนะครับสำหรับ Case นี้) วารสารที่ Paper จะตีพิมพ์ก็จะแบ่งได้อีกหลายระดับ บางคนก็จะแบ่งตามค่าที่เรียกว่า Impact Factor ถ้าวารสารใดมีค่า Impact Factor สูงก็ถือว่าวารสารนั้นน่าจะมีคุณภาพสูง มีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ แต่เชื่อไหมครับว่า Paper ที่ลงในวารสารที่มีค่า Impact Factor สูงอย่างเช่น Nature งานบางอย่างอาจมีข้อผิดพลาด เชื่อถือไม่ได้ ผู้แต่งบางคนยังรู้สึกผิด หลังได้รับตีพิมพ์ยังต้องออกมาลงแก้ไขกันใหม่ก็มีครับ



             ที่ผมเล่าให้ฟังเรื่อง การตีพิมพ์งานวิจัย ก็จะไปโยง กับเรื่องกล้วยๆ ด้านบนครับ อยากให้ผู้อ่านทุกคน ที่อ่านข้อมูลทาง Internet หรือ ได้รับจาก Forward Mail เมื่อเราอ่านแล้วอย่าเชื่อทุกอย่างในทันทีครับ เพราะไม่รู้ว่าจริงเท็จแค่ไหน อย่างเรื่องงานวิจัยกล้วยด้านบนเป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่มีการระบุ แหล่งที่มา และคนผู้ศึกษาอย่างชัดเจน ที่จริงงานวิจัยขนาดนี้ผู้วิจัยก็ต้องออกมาเสนอหน้ากันแล้วครับ เพราะถือว่ามีความสำคัญมาก อย่างไรก็ตามผมก็ไม่ขอสรุปว่า งานวิจัยข้างบนเป็นจริงหรือเท็จ มันอาจจะเป็นจริงก็เป็นไปได้ เพราะผมยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าจริงๆ แล้วมันเป็นอย่างไร เรื่องจริงแท้แน่นอน คือกล้วยเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและย่อยง่าย ผลกล้วยสด 100 กรัมมีแป้งประมาณ 2 กรัม น้ำตาล (รวมซูโครส กลูโคส และฟรักโทส) 20 กรัม วิตามินซี 11 มิลลิกรัม ส่วนกล้วยตาก 100 กรัมมีน้ำตาลถึง 50 กรัม และวิตามินซี 3 กรัม กล้วยสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และการอาการท้องเสียได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นกินกล้วยก็ย่อมมีประโยชน์แน่นอนครับ อย่างไรก็ตามถ้าใครทราบแหล่งข้อมูลที่แท้จริง เรื่องจุดด่างดำบนกล้วยก็บอกผมบ้างนะครับ อยากรู้เหมือนกัน ส่วนเรื่องต่างๆใน Website และ Forward Mail ก็กลั่นกรองกันดูว่าสุดท้ายแล้วเค้าแนะนำยังไง ถ้าเห็นแล้วไม่เข้าท่าก็อย่าไปทำตามนะครับ...

2 ความคิดเห็น:

padam กล่าวว่า...

คุณบอยชอบกินกล้วยดำๆเหรอครับ อิอิ

Chatchawal Wongchoosuk กล่าวว่า...

ชอบกล้วยขาวๆมากกว่าครับ ^^