วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เซนเซอร์ไร้สายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

        นักวิจัยได้พัฒนา หัวเซนเซอร์แบบผังในร่างกายมนุษย์ (Implantable sensor) และสามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ที่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

       
      ภาพด้านบนเป็นภาพรูปจำลองหัวเซนเซอร์ที่สามารถฝังในร่างกายมนุษย์ โดยที่ไม่มีอันตรายต่อระบบต่างๆในร่างกายมนุษย์ โดยหัวเซนเซอร์ด้านหนึ่งจะตรวจวัดออกซิเจน  อีกด้านหนึ่งจะตรวจวัดอันตรกิริยาของออกซิเจนและน้ำตาลกลูโคส (glucose) โดยข้อมูลจะถูกส่งผ่านยังภายนอกโดยระบบสัญญาณไร้สายที่ฝังรวมอยู่ภายในหัวเซนเซอร์ อุปกรณ์ดังกล่าวได้ถูกทดสอบกับหมูมากกว่า 1 ปีซึ่งไม่เกิดผลกระทบใดๆทั้งสิ้น ศาสตรจารย์ David Gough จากมหาวิทยาลัย San Diego กล่าวว่า "อุปกรณ์ตัวนี้สามารถทำงาน เก็บข้อมูล อย่างต่อเนื่องได้ถึง 1 ปีหรือมากกว่า ซึ่งภายในไม่กี่เดือนข้างหน้าอุปกรณ์ตัวนี้จะถูกฝังที่มนุษย์เพื่อทดสอบ โดยเราจะทดสอบมันอีกหลายปีเพื่อศึกษาผลกระทบ ถ้ามันยังทำงานได้อย่างดี อุปกรณ์นี้จะสามารถสั่งซื้อได้ภายใต้การควบคุมของแพทย์" 

  
เซนเซอร์นี้สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 (Type 1) และชนิดที่ 2 (Type 2)
 - โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลิน (ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ในตับอ่อน ทำให้ร่างกายหยุดการสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว (อย่างภาพด้านบน หญิงสาวกำลังฉีดอินซูลิน)
  - โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก การขาดการออกกำลังกาย และวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่ทำงานไม่เป็นปกติเนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด รายละเอียดโรคเบาหวานคลิกอ่านได้ที่ ThaiWiki

       เซนเซอร์จะใช้ในการปรับปริมาณอินซูลิน และเวลาในการฉีด ซึ่งมันจะช่วยลดความเสี่ยงการมีปริมาณอินซูลินที่มากเกินไป ถ้าปริมาณอินซูลินมีมากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)  (น้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 60 มก./ดล.) อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ อีกทั้งยังใช้เพื่อช่วยในการจัดตารางในการออกกำลังกาย และควบคุมการบริโภคอาหารเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่สภาวะปกติ  (ต่ำกว่า 200 มก./ดล.) ขนาดตัวเซนเซอร์ที่ฝังในหมูประมาณ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.8 ซม. ความหนาประมาณ 1.9 ซม. สามารถส่งข้อมูลไปยังภาครับได้ไกล 3.6 เมตร และยังสามารถส่งข้อมูลไปยังโทรศัพท์มือถือได้อีกด้วย 
          เพิ่มเติมครับ ประเทศไทยเราก็มีสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ ลองแวะเยี่ยมชมนะครับเพื่อเป็นประโยชน์ต่อท่านทั้งหลาย

ไม่มีความคิดเห็น: